ภาวะ Hormone Imbalance หรือ ฮอร์โมนผิดปกติ PMS เป็นภาวะที่ผู้หญิงที่อยู่ในวัยที่มีประจำเดือนมักจะเผชิญกันแทบทุกคน โดยผู้หญิงบางคนมักจะมีอาการอารมณ์แปรปรวน ผมร่วง หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงมีอาการปวดท้องน้อยซึ่ง โดยผู้หญิงแต่ละคนนั้นจะมีระดับอารมณ์และอาการปวดท้องต่าง ๆ ที่จะแสดงอาการมากน้อยไม่เท่ากัน สำหรับผู้หญิงที่มีอาการรุนแรงอาจกระทบถึงการใช้ชีวิตประจำวันเลยก็ได้ค่ะ

PMS คืออะไร
PMS มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Premenstrual Syndrome ซึ่งเป็นอาการผิดปกติในด้านร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมที่มักจะเกิดขึ้นก่อนเป็นประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยภาวะ PMS เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านระดับฮอร์โมนของผู้หญิงในช่วงก่อนจะมีประจำเดือน ซึ่งมีผู้หญิงมากกว่า 80% ซึ่งอยู่ในช่วงวัย 20-40 ปีมักจะเผชิญกับภาวะ PMS นี้
นอกจากนี้ สาเหตุของ PMS อาจมีสาเหตุมาจากร่างกายที่มีภาวะของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล รวมถึงภาวะสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล ไม่ถึงแค่นี้ภาวะ PMS อาจมาจากสาเหตุทางด้านจิตใจและสังคมได้เช่นกัน ซึ่งอาจมาจากความเครียด ลักษณะนิสัยส่วนตัว และทัศนคติในการดำเนินชีวิตก็เป็นเหตุให้เกิดภาวะ PMS ได้เช่นกัน

เช็กอาการก่อน ! ว่ากำลังเผชิญกับภาวะ PMS หรือไม่ ?
โดยหลัก ๆ แล้วอาการของภาวะ PMS มักจะแสดงอาการออกมาเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ อาการทางด้านอารมณ์ และอาการทางด้านร่างกาย ซึ่งมาเช็กกันเลยค่ะว่าคุณมีอาการ ดังต่อไปนี้หรือไม่ ?
- อาการทางด้านอารมณ์ : ลักษณะอาการทางด้านอารมณ์ของผู้หญิงที่อยู่ในภาวะ PMS นั้นมักจะมีอารมณ์ที่ค่อนข้างแปรปรวนมักจะหงุดหงิดง่ายและโกรธได้ง่าย มีอาการเครียด ไม่มีสมาธิ ในบางครั้งอาจรู้สึกเศร้า บ้างก็ร้องไห้ง่าย ๆ กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมถึงอยากอาหารมากกว่าปกติ ไม่ต้องการสุงสิงกับใคร แยกตัวออกมาจากสังคม รวมถึงมีอาการนอนไม่หลับในบางครั้ง
- อาการทางด้านร่างกาย : สำหรับอาการทางด้านร่างกายของผู้ที่กำลังเผชิญอยู่ในภาวะ PMS นั้นเราพบว่ามักจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อ ผมร่วง บ้างก็รู้สึกเจ็บจิ๊ดบริเวณหน้าอก ในบางรายเราพบว่ามีอาการท้องอืด ปวดท้อง และปวดศีรษะอีกด้วย รวมถึงมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องผูก ท้องเสีย รวมถึงมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียได้ง่าย และมีสิวขึ้นมากเป็นพิเศษ

การปฏิบัติตัวเพื่อรักษาอาการ PMS
สำหรับการปฏิบัติเพื่อบรรเทาและรักษาภาวะ PMS ในเบื้องต้นผู้ที่มีอาการนี้สามารถดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้ง่าย ๆ โดยไม่วิธีการ ดังต่อไปนี้
- ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ: การออกกำลังกายหรือหากิจกรรมที่ตนเองชอบทำนั้นสามารถ ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ที่มีภาวะ PMS ได้ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่ากำลังมีอาการ PMS สามารถ ออกกำลังกายเพื่อให้จิตใจต้องเผชิญกับสภาวะอารมณ์ที่กำลังแปรปรวนอยู่ ณ ขณะนั้นได้
- การลดน้ำหนัก: เชื่อหรือไม่ว่าการลดน้ำหนักเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยบรรเทาภาวะ PMS และ คลายความรุนแรงของอาการดังกล่าวลงได้ ซึ่งเราพบว่าเมื่อผู้หญิงกลับมามีน้ำหนักที่สมดุลกับร่างกาย จะทำให้ฮอร์โมนในเลือดเกิดการสมดุลขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ: การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอทำให้ภาวะ PMS มีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อลดสภาวะทางด้านฮอร์โมนที่แปรปรวนของตนเองนั้นควรจะนอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ
แนวทางรักษาเฉพาะบุคคล
แม้ว่าจะสามารถรักษาภาวะ PMS สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของตนเองแล้ว แต่หากยังไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาภาวะดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่าแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดคือการรักษาเฉพาะบุคคล โดยที่ BRM Medical Club มีทีมแพทย์และทีมสุขภาพที่สามารถออกแบบและวางแผนการรักษาเฉพาะตัวบุคคลได้อย่างใกล้ชิด โดยสามารถตรวจหาภาวะฮอร์โมนผิดปกติเฉพาะบุคคลโดยยืนยันผลการตรวจรักษาผ่านแล็ป เพื่อให้รู้ประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย และสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกจุด และช่วยคืนความสมดุลให้แก่สุขภาพของคุณ
โดยการรักษาภาวะ PMS จะทำให้คุณกลายเป็นคุณคนใหม่ที่ไม่ได้แค่เพียงสมบูรณ์พร้อมทางด้านสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่เป็นการออกแบบและวางแผนการรักษาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตและจิตใจที่มีคุณภาพและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขได้